Wednesday, September 23, 2009

ตลาดโก้งโค้ง


ตลาดโบราณย้อนยุคในอาคารลักษณะเป็นบ้านเรือนไทยหมู่ใหญ่ เพื่อคงความเป็นสถาปัตยกรรมไทยโบราณ และให้เราสามารถสัมผัสกับบรรยากาศเก่าๆ แบบสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ โดยจำลองวิถีชีวิตของไทยในอดีตที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เนื่องจากบ้านแสงโสม ในอดีตเป็นด่านขนอน (ด่านเก็บภาษีในอดีต) และเป็นสถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิด ทั้งที่เป็นสินค้าชุมชน และสินค้าที่มาจากต่างเมือง และที่เรียกชื่อว่า "ตลาดโก้งโค้ง" นั้นเป็นการนำคำที่ใช้เรียกตลาดสมัยโบราณที่อยู่คู่กับกรุงศรีอยุธยามานาน
โดยพ่อค้าแม้ค้าจะนั่งขายของอยู่บนพื้นดิน คนที่มาเลือกซื้อสินค้าจะต้อง "โก้งโค้ง" เพื่อเลือกดูสินค้าที่สนใจ โดยอากัปกริยาโก้งโค้งของคนไทยนั้น ทำได้สุภาพ นุ่มนวล เป็นกิริยาที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ของขายในตลาดแห่งนี้ มีพืช ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษจากสวนชุมชน สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารคาว-หวานนานาชนิด มีมุมขายอาหารให้นั่งรับประทาน ส่วนที่เดินซื้และต้องโก้งโค้งก็มีพวกขนมโบราณ อย่างขนมบ้าบิ่น ขนมเบื้อง ขนมถ้วย เป็นต้น

ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม
เปิดวันพฤหัส - อาทิตย์ เวลา 9.00-16.00น. เดินทางมาบนถนนสายเอเซีย (ทางหมายเลข 32) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอบางปะอิน ตรงไปถึงสี่แยกไฟแดง แล้วเลี้ยวขวา (บางปะอินสายใน) ผ่านสถานีรถไฟบางปะอินตรงต่อไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร

ข้อมูลการเดินทาง
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทางดังนี้
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32
เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน)
เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี
ไปยังจังหวัดปทุมธานีต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา
เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี
เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกวัน วันละหลายเที่ยว โดยออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 รถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาและรถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 กรุงเทพฯ-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-พระนครศรีอยุธยา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0-2936-2852-66 หรือที่เว็บไซต์ www.transport.co.th
โทร. 0-3572-8286,08-9107-8443

ค่ายบางกุ้ง,โบสถ์ปรกโพธิ์

เมื่อสองร้อยกว่าปีเศษ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมด้วยเหล่าทหารหาญได้ประกอบวีรกรรมทหารกล้า ได้ต่อสู้พม่าข้าศึก ที่รุกรานประเทศไทยจนได้รับชัยชนะในการรบที่ค่ายบางกุ้ง มีผลดีต่อชาติไทยหลายประการ ที่สำคัญยิ่งคือขวัญ และกำลังใจของคนไทยที่เกือบจะสูญสิ้นไปกับการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่ พม่าในปี 2310
การรบชนะพม่าที่ค่ายบางกุ้ง เมื่อปี พ.ศ.2311 (เป็นสงคราครั้งแรกที่ไทยรบกับพม่า ภายหลังจากที่สมเด็จพระจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ทำให้ขวัญและกำลังใจของคนไทยกลับคืนมา



สถานที่ตั้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
เป็น ค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ค่ายบางกุ้ง เรียกว่า "ค่ายบางกุ้ง" โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่าย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร ภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ค่ายบางกุ้งก็ร้างไป จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุง ธนบุรี เป็นราชธานีจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี รวบรวมผู้คนมาตั้งกองทหารรักษาค่าย จึงมีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรีมาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหามนตรี (บุญมา) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเหลือทหารจีนขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย หลังจากนั้นค่ายบางกุ้งแห่งนี้ก็ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึง พ.ศ.2510 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว) และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์
สิ่งที่น่าสนใจ
โบสถ์ปรกโพธิ์ เป็น อุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ทั้งโพ ไทร ไกร และกร่าง มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ มากกว่ามีโบสถ์อยู่ข้างใน รากไม้เหล่านี้ช่วยให้โบสถ์คงรูปอยู่ได้ ทั้งยังให้ความขรึมขลังอีกด้วย ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย (หลวงพ่อนิลมณี) และเรียกโบสถ์ว่า "โบสถ์ปรกโพธิ์" และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุศรีอยุธยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ
วัดบางกุ้ง เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน อยู่คนละฝั่งกับค่ายบางกุ้งโดยมีถนนผ่านกลาง สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ได้แก่ คัมภีร์โบราณ ส่วนมากจะเป็นตำรายาโบราณ และบริเวณหน้าวัดด้านที่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง จะมีปลาน้ำจืดต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่า "วังมัจฉา"

การเดินทาง
• ทางรถยนต์
จาก ตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 325 (แม่กลอง-อัมพวา) ประมาณ 5 กม. เลยวัดบางกะพ้อม (ยังไม่ถึงตลาดอัมพวา) ให้สังเกตทางแยกซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง(สะพานสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์) ตรงไปถึง ถึงสามแยกเลี้ยวขวา ตรงไปผ่านวัดภุมรินทร์ จนถึงสามแยก (มีวัดบางแคใหญ่อยู่ขวามือ) เลี้ยวขวา ตรงไปผ่านวัดบางแคน้อย วัดปากน้ำ ข้ามสะพานคลองแควอ้อม สังเกตค่ายบางกุ้งอยู่ซ้ายมือ จะเห็นแนวกำแพงของค่าย
• รถประจำทาง
จาก ตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถโดยสารสองแถว สายแม่กลอง-วัดปราโมทย์ คิวรถอยู่บริเวณธนาคารนครหลวงไทย สาขาสมุทรสงคราม รถจะวิ่งผ่านค่าย

Thursday, September 17, 2009

ตลาดน้ำบางคล้า

อำเภอบางคล้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะเด่นเป็นเมืองสองน้ำ อันเกิดจากการรุกล้ำของน้ำทะเลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความเค็มของน้ำในแม่น้ำแถบนี้ตลอดมา จึงมีระบบนิเวศน์ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดริมแม่น้ำบางปะกงชาวบ้านส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำแห่งนี้มาอย่างยาวนาน ตัวตลาดอยู่ในโป๊ะริมน้ำ คล้ายกับตลาดน้ำบางเลน นครปฐม และตลาดน้ำตลิ่งชัน





เมื่อผ่านเข้ามายังตัวอำเภอบางคล้า อย่าพลาดไปชม ค้างคาวแม่ไก่ที่วัดโพธิ์ ในวัดร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ จากนั้นแวะไปไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในบางคล้า ได้แก่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ศาลหลักเมืองบางคล้า วัดแจ้ง วัดปากน้ำโจโล้ และสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน


ยามบ่ายขับรถออกนอกตัวอำเภอบางคล้าไปเล็กน้อย ไปชิมน้ำตาลสด ณ หมู่บ้านน้ำตาลสด ซึ่งเป็นแหล่งผลิตโดยตรง ชมกรรมวิธีการผลิต และซื้อหาผลผลิตที่ชาวบ้านทำมาขายเรียงรายสองฝั่งถนนบริเวณหมู่บ้าน ทั้งน้ำตาลสด น้ำตาลงบ และขนมจาก ถัดจากหมู่บ้านน้ำตาลสดข้ามสะพานแม่น้ำบางปะกงไปอีกไม่ไกลจะถึง สวนปาล์มฟาร์มนก แหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงนกแก้วหลากหลายสายพันธุ์ รวมทั้งนกกระตั้ว นกมาคอว์ ที่มีสีสันสวยงาม ด้านหน้าสวนจัดทำเป็นห้องนิทรรศการแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนกแก้ว มีสวนปาล์มประดับที่สวยงามแปลกตา อาทิ อ้ายหมีมาโค มูลิไอ เบลียาน่า ฯลฯ จะเดินชมหรือเช่าจักรยานเที่ยวรอบสวนก็ได้ เปิดให้ชมทุกวันเวลา 9.30 – 16.30 น. จากนั้นเดินทางต่อไปตามป้ายที่มีติดไว้เป็นระยะ จะถึง คุ้มวิมานดิน ที่นี่เป็นอาณาจักรเครื่องปั้นดินเผา ในสวนธรรมชาติ มีของตกแต่งบ้านของฝากไอเดียเก๋น่ารักให้เลือกซื้อมากมาย แวะหามุมโปรดนั่งพักผ่อนจิบกาแฟ หรือจะแวะไปชมบ้านดิน หรือทดลองปั้นดินด้วยตนเอง เปิดให้เที่ยวชมเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดตามเทศกาล



ตลาดน้ำบางคล้า

ที่ตั้ง หน้าที่ว่าการ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

เปิด 08.00-18.00 น. เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

แผนที่การเดินทาง

การเดินทาง โดยใช้เส้นทางด่วนขั้นที่ 2 หรือทางด่วนศรีรัช ต่อด้วยมอเตอร์เวย์ ไปออกที่ฉะเชิงเทราเข้าถนน 304 ผ่านโรงงานโตโยต้าจนไปเลี้ยวขวาที่แยกซึ่งมีป้ายบอกทางไปพนมสารคาม วิ่งต่อไปอีก 19 กม.ก็จะถึงสี่แยกบางคล้า เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 6 กม. ก็ถึงตลาดน้ำบางคล้าซึ่งอยู่ริมฝั่งหน้าอำเภอ

ตลาดบ้านใหม่ ตลาด 100 ปี



ตลาดบ้านใหม่ ตลาดที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีวิถีชีวิตเดิมที่โดด เด่นที่แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ นั้นคือ บ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสถานที่ถ่ายภาพยนต์และละครย้อนยุคของชุมชนชาวจีน เช่น อยู่กับก๋ง นางนาค เจ้าสัวสยาม ร้านขายของและร้านอาหารที่มีความหลากหลาย เป็นที่รวบรวมอาหารรสเด็ดของแปดริ้ว ทั้งอาหารจีน อาหารไทย มีร้านกาแฟโบราณรสชาติเข้มข้นหอมหวาน เป็นที่รวบรวมของฝากที่ต้องแวะซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน



เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่พร้อมให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมวิถีชีวิต ย้อนยุค เลือกชิมอาหารรสอร่อย เลือกซื้อของฝากจากแปดริ้ว ในช่วงแรกจะเปิดให้เที่ยวชมเฉพาะในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง (1) ใช้ถนนหมายเลข 304 มีนบุรี – ฉะเชิงเทรา
(2) ใช้ถนนหมายเลข 34 บางนา – ตราด เลี้ยวเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา
(3) ใช้ถนนหมายเลข 3 สมุทรปราการ – บางปะกง แล้วต่อด้วยถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา,
(4) ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ ฯ – พัทยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 314 บางปะกง – ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองฉะเชิงเทรา
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพ ฯ มีรถประจำทางออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) และสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) รถไฟ (หัวลำโพง) มีขบวนรถไฟมาฉะเชิงเทราทุกวัน นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาโดยรถสาธารณะ จะมีรถโดยสารเล็กจากสถานี สายรอบเมืองวิ่งผ่านวัดโสธร วรารามวรวิหารหรือตลาดสามารถเลือกและเดินทางได้สะดวกสบาย

Wednesday, September 16, 2009

ตลาดน้ำวัดท่าการ้อง Thakarong Floating market


ตลาดน้ำแห่งใหม่บนแพที่ท่าริมน้ำเจ้าพระยาของวัดท่าการ้องซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา เป็นวัดพุทธท่ามกลางชุมชนอิสลาม 2 หมู่บ้าน คือ บ้านท่ากับบ้านการ้อง


Floating market a new platform on the waterfront pier of the Chao Phraya is Wat Tha karong that the old temple. To Ayutthaya period. A Buddhist temple among the Islamic community village is ban tha and ban karong


















บริเวณวัดตกแต่งสวยงามมีระเบียบ รวมทั้งห้องน้ำที่ได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดสุดยอมส้วมแห่งปีระดับประเทศ นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ นามว่า "พระพุทธรัตนมงคล" (หลวงพ่อยิ้ม) มีพุทธลักษณะงดงาม บริเวณวัดมีรูปปั้นเณรดินเผาใส่แว่นตาและหมวกของคนที่มาไหว้พระแล้วลืมไว้ ช่วยเรียรอยยิ้มจากผู้แวะมาได้ไม่น้อย


Beautifully decorated temple area orderly. And bathrooms have won the competition last year, a national settlement of the closet. Popular tourist to visit worship Buddha that holy name "Buddha Ratana Mongkol" (father smiling) Buddha nature is beautiful. Temple area is clay sculpture neophyte glasses and a hat of his people to respect it, then forget. Maria smiles helped by the visit not less.


ของขายในตลาดเป็นพวกของกินหลายกหลายชนิด ทั้งก๋วยเตี๋ยวเรือ ข้าวผัด ของกินเล่น เช่นก๋วยเตี๋ยวหลอด สั้มตำสมุนไพร ไก่ทอดข้าวเหนียว ลูกชิ้นปิ้ง ขนมตาล และอย่าลืมแวะชิมแกแฟโบราณในเรือกาแฟคุณพระนาย ที่มีเครื่องดื่มให้เลือกเยอะ และชื่อเมนูเรียกแบบสมัยก่อนให้สั่งใส่กระบอกไม้ไผ่ชื่นใจ


In the market have many kinds To eat. Noodles and fried rice. noodles tube. Fried chicken meat ball sticky rice dessert course tasting sugar and do not forget to visit the ancient Coffee . Select a beverage to much. And called a Old name of the menu Order to Insert the bamboo buoyant.


ส่วนที่จะให้แสดง


เปิดทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
Open every Saturday - Sunday and public holidays.


วัดท่าการ้อง อยู่ฝั่งเดียวกับวัดกษัตริย์ตราธิราชวรวิหาร โทร.ติดต่อสอบถามวัดท่าการ้องได้ที่
Tel. Contact. 035-323-088, 035-211-074


Monday, September 14, 2009

ตลาดสามชุก samchuk




“สามชุก เป็นเมืองเล็กๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดย ในอดีตสามชุกคือแหล่งที่ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ ฯลฯ มามีสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะของการแลกเปลี่ยน และซื้อขายสินค้า จนพัฒนาไปสู่ การลงหลักปักฐาน สร้างเมืองที่มั่นคงขึ้นมาตาม ประวัติของเมืองสามชุก กล่าวไว้ว่า ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่ออำเภอ “นางบวช” ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลนางบวช โดยมีขุนพรมสภา (บุญรอด) เป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งยังมีภาพถ่ายปรากฎอยู่จนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี 2457 ต้นรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายอำเภอมาตั้งที่บ้าน “สำเพ็ง” ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในสมัยนั้น จนกระทั่งปี 2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “อำเภอนางบวช” มาเป็น “อำเภอสามชุก” และย้ายมาตั้ง อยู่ริมลำน้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผ่านคลอง มะขามเฒ่า แต่เดิมบริเวณที่ตั้งอำเภอสามชุกเรียกว่า “ท่ายาง” มีชาวบ้านนำของป่าจากทิศตะวันตกมาค้าขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ บ้างก็มาจากทางเหนือ บ้างก็มาจากทางใต้ เป็น 3 สาย จึงเรียกบริเวณที่ค้าขายนี้ว่า “ สามแพร่ง “ ต่อมาได้เพี้ยน เป็น สามเพ็ง และสำเพ็งในที่สุด ดังปรากฎหลักฐานกล่าวไว้ในนิทานพื้นบ้านย่านสุพรรณมีเรื่องกล่าวต่อไปว่า ในระหว่างที่คนมารอขายสินค้าก็ได้ตัดไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย เรียกว่า “กระชุก” ชาวบ้านจึงเรียกว่า “สามชุก” มาถึงปัจจุบัน อำเภอสามชุกเดิมมีพื้นที่ 774.9 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2528 ได้มีการตั้งอำเภอหนองหญ้าไซ จึงแบ่งบางส่วนออกไป ยังคงเหลือเพียง 362 ตารางกิโลเมตร












การเดินทางด้วยรถยนต์การเดินทางด้วยรถยนตร์ สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก

ภาพยนตร์


สามชุก Sam Chuk (แปซิฟิคไอร์แลนด์ ฟิลม์)


กำหนดฉาย : 5 สิงหาคม 2552


แนว : ดราม่ากำกับ : ปื๊ด - ธนิตย์ จิตนุกูล


เรื่องย่อ สามชุก ท่ามกลางปัญหายาเสพติดที่แพร่ระบาดอย่างหนักไปทั่วทุกท้องที่ของประเทศ รวมถึงชุมชนเล็กๆ อย่างอำเภอ สามชุก เด็กนักเรียน 7 คน ที่ชีวิตกำลังอยู่ในวัยสดใส สนุกสนาน มีความฝันและความรัก แต่วันนี้พวกเขาต่างต้องเผชิญกับปัญหา โดยแต่ละคนไม่สามารถหาทางออกได้ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พวกเขากำลังตกนรกทั้งเป็นด้วยการถลำลึกไปกับวังวนของยาเสพติด สังคมรุมประณาม เด็กที่กำลังหลงทาง ครูธรรมดาคนหนึ่งกล้าที่จะลุกขึ้นประกาศกับสังคมว่าเด็กทั้ง 7 เป็นเพียงเหยื่อของความเสื่อมในสังคมเท่านั้น ครูผู้นี้ได้ต่อสู้เคียงข้าง และพยายามเข้าถึงปัญหาของเด็กแต่ละคน ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะนำพาเด็กทั้ง 7 คนลุกขึ้นยืนได้ใหม่อีกครั้ง นี่คือการตีแผ่เรื่องจริงในซอกมุมเล็กๆ มุมหนึ่งในสังคมไทย ของครูกับลูกศิษย์อีก 7 คน ที่ปลุกกระแสชุมชนให้ลุกฮือขึ้นมาต่อสู้กับปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง โดยนำเสนอผ่าน อำเภอ สามชุก เนื่องจากพิษภัยของมันนั้นมหาศาลนัก นอกจากทำให้ผู้เสพได้รับความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเป็นที่มาของการก่ออาชญากรรมขั้นรุนแรงด้วย









Thursday, September 10, 2009

Taling Chan Floating Market Pic (รูปตลาดน้ำตลิ่งชัน)

ตลาดน้ำตลิ่งชัน ก่อตั้งขึ้นในปี 2530 โดย นายประชุม เจริญลาภ ผู้อำนวยการเขตตลิ่งชันในสมัยนั้นเป็นผู้คิดริเริ่ม เดิมมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดทำเป็นตลาดศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ และผลิตผลทางการเกษตร ทางประชาคมตลาดน้ำตลิ่งชัน ได้ มีแนวความคิดที่จะปรับเปลี่ยนให้เป็นตลาดน้ำ เพื่อการค้าขายสินค้าต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวตลิ่งชัน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว เนื่องจากเขตตลิ่งชันนั้นมีร้านก๋วยเตี๋ยวมาก จึงได้มีการทำแพไม้ไผ่ขึ้นก่อน 5 แพ และในปี พ.ศ.2542 พัฒนามาเป็นแพเหล็ก 11 แพ ปัจจุบันตลาดน้ำตลิ่งชัน มีการค้าขายสินค้าต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยวทางเรือไปทางสวนกล้วยไม้ สยนเพาะพันธุไม้ สวนงู ที่ปากน้ำภาษีเจริญ มีการนำชมสวนผลไม้ตามฤดูกาล และมีการจัดเทศกาลงานประเพณีต่างๆ อยู่เสมอ







STARTING FROM 1987 MR.PRACHUM CHAROENLAP TALINGCHAN DISTRICT DIRECTOR AT THAT TIME HAS INITIATED THE PROJECT AMIMING TO CREATE A MARKETPLACE FOR AGRICULTURAL PRODUCTS WHICK WERE ABUNDANT IN THE SURROUNDING AREA. THEN THE MARKET WAS TRANSFORMED INTO A FLOATING MARKET BEGINNING FROM THE CONSTRUCTION OF 5 BAMBOO RAFTS TO SELL FOODS AND NOODELS IN 1999, AND BEING GRADUALLY DEVELOPED TO THE PRESENT DAY OF 11 IRON FLOATS BOAT EXCURSIONS TO VISIT ORCHID FARMS, FLOWER NURSERIES, OR SNAKE FARMS IN PHASI CHAROEN CANAL ALSO ARE AVAILABLE FOR THE TOURISTS.


ที่นี่จะมีสวนหย่อมสำหรับนั่งพักผ่อน และมีเวทีโชว์ร้องเพลงลูกทุ่ง สามารถซื้อของไปนั่งทานที่สวนหย่อมได้เหมือนกัน บริเวณทางเข้าเขตตลิ่งชัน 2 ข้างทาง ก็มีอาหารขาย และ ผลิตผลทางการเกษตร มาขายด้วย
และหากมาที่ตลาดน้ำแห่งนี้แล้วละก็ ไม่ควรพลาดที่จะลงมาที่โป๊ะริมน้ำ เพื่อสั่งอาหารมารับประทาน พร้อมชมวิวไปด้วย



เลือกนั่งได้ตามสบาย มีอยู่ทั้งหมด 11 โป๊ะ อาหารอร่อยทุกอย่าง


ขนมจีนเจ้านี้เคยออกรายการเปรี้ยวปากทาง ช่อง 3 มาแล้ว


ส้มปูรสจัดจ้าน น่าอร่อยเชียว


ผัดไทยกุ้งสด



ชาวต่างชาติที่ชอบความเป็นส่วนตัวมักจะเหมาเรือทั้งลำ นั่งชมคลองชักพระ



แม้ค้านั่งย่างกุ้ง



อาหารขึ้นชื่อของที่นี่ก็ต้องเป็น กุ้งแม่น้ำตัวโตๆ ครึ่งโล 150 บาท หรือจะสั่งแค่ 100 บาทก็ได้
นอกจากนี้ยังมีปูเผา หอยแครงลวก และที่เด็ดสุดคือ ปลาช่อนเผานี่แหละ ที่เห็นสั่งกันแทบทุกคนที่มา




เรือลำนี้ขายพวกยำ เช่นยำสามกรอบ ยำวุ้นเส้น




การเดินทาง
ตลาดน้ำแห่งนี้ตั้งอยู่ที่บริเวณเขตตลิ่งชัน เข้าทางเส้นจรัญสนิทวงศ์ สามารถเข้าได้ 2 ทางคือ ทางรถไฟบางขุนนนท์ หรือ จะเข้าทางบางขุนนนท์ก็ได้ มีรถ 2 แถวให้ขึ้นตรงแม็คโครจรัญ ค่าโดยสารเพียง 5 บาทเท่านั้น โดยนั่งไปลงที่เขตตลิ่งชันได้เลย

แผนที่ ตลาดน้ำตลิ่งชัน





Tuesday, September 8, 2009

ตลาดน้ำลำพญา Lampaya Floating market

ตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
    ลำพญาคือ นามเดิมของหมู่บ้านในครั้งที่การปกครองยังเป็นอำเภอบางปลา มณฑลนครชัยศรี มีประวัติว่าสมัยรัชกาลที่ 5 พระยากรมท่า ทำการขุดคลองบริเวณท้ายตลาดในปัจจุบันเพื่อทำการจับจองที่นา ชุมชนแห่งนี้มีชาวบ้านสองกลุ่ม คือปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวมอญอพยพมาจากสามโคก ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางแม่น้ำฝั่งตะวันตก ทำการเกษตร ส่วนชุมชนชาวจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งตะวันออก ทำการค้าขาย กลายเป็นตลาดริมน้ำ สภาพทั่วไป เป็นที่ราบ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนา มีถนนเชื่อมต่อออกไปทาง พุทธมณฑล และออกไปบางเลน หรือออกไปทางจังหวัดสุพรรณบุรีได้สะดวก มีอาณาเขตทิศเหนือ ติดกับ ต.คลองนกกระทุง อ.บางเลน จ.นครปฐม ทิศใต้ ติดกับ ต.บางระกำ อ.บางเลน จ.นครปฐม ทิศตะวันออก ติดกับ ต.นราภิรมย์ อ.บางเลน จ.นครปฐม ทิศตะวันตก ติดกับ ต.บางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม มีประชากร 3,874 คน 593 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำการเพาะปลูก ทำการค้าขาย รับจ้าง และ ทำหัตถกรรม และสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดลำพญา วัดเวฬุนาราม ตลาดน้ำวัดลำพญา

    ตลาดน้ำวัดลำพญา ตั้ง อยู่บริเวณริมแม่น้ำท่าจีนหน้าวัดลำพญา อ.บางเลน จ.นครปฐม นับเป็นตลาดน้ำที่ยังคงสภาพแบบธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ของประเทศไทย ตลาดน้ำลำพญาแห่งนี้ริเริ่มโดย สภาวัฒนธรรมตำบลลำพญา ร่วมกับทางวัดลำพญา เป็นแหล่งรวมพืชผักผลไม้ ผลิตผลทางการเกษตร เช่น เครื่องจักสาน ผ้าทอ ผ้าย้อม และอาหารราคาถูก มีประเภทร้านอาหารคาว หวาน และผักผลไม้สดมากมาย ลักษณะเป็นเรือแพที่อยู่ริมน้ำมีความยาวประมาณ 30 เมตร ระหว่างเรือแพจะมีเรือมาด เรือสำปั้น เรืออีแปะ ของชาวบ้านนำอาหารคาวหวาน และพืชผักผลไม้มาขายมากมาย ในส่วนของอาหารคาว จะมีก๋วยเตี๋ยวเป็ด, เกาเหลาเลือดหมู, ก๋วยเตี๋ยวเรือ, อาหารตามสั่ง, ส้มตำ, ข้าวมันไก่, ข้าวคลุกกะปิ, หมูสะเต๊ะ, ทอดมัน, หอยจ้อ, หอยจ้อ 4 สี่ ปลาช่อนเผาตัวใหญ่ๆ, แหนมปลากรายทอด, เต้าหู้ทอด, สาคูไส้หมู, ข้าวเกรียบปากหม้อ ของหวาน อาทิ ขนมตาล, ถั่วบด, ลูกชุบ, ผลไม้ดอง, ทองม้วนสดมะพร้าวอ่อน ขนมเปียกปูน และขนมไทยอีกมากมาย แต่ถ้าใครเคยไปตลาดน้ำดอนหวาย จะเห็นได้เลยว่า ตลาดน้ำลำพญาเล็กกว่ามาก แต่ถึงจะเล็กของกินก็แจ๋ว สวนบริเวณหน้าวัดมีปลานานาชนิดเช่น ปลาสวาย ปลากระแห ปลาแรด ปลาเทโพ นอกจากนี้ ก็ยังมีบริการล่องเรือตามแม่น้ำท่าจีน โดยมีเรือบริการหลายประเภทอาทิ เรือแจวโบราณ ล่องลำน้ำท่าจีน ออกจากหน้าวัดลำพญาไปนมัสการศาลเจ้าแม่ทับทิมซึ่งเป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ประจำ ตำบลลำพญา อัตราค่าโดยสาร คนละ 20 บาท ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เรือลาก ล่องแม่น้ำท่าจีนไป-กลับ ออกจากหน้าวัดลำพญาไปวัดสุขวัฒนาราม ที่บริเวณหน้าวัดลำพญามีวังปลาชุกชุมสามารถให้อาหารปลาได้ อัตราค่าโดยสาร ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท เรือกระแชง ออกจากหน้าวัดลำพญาไปวัดบางพระ (วัดหลวงพ่อเปิ่น) ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง อัตราค่าโดยสาร ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ซึ่งตลาดน้ำลำพญาแห่งนี้จะเปิดบริการเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00-17.00 น. การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทางรถยนต์ - เส้นทางแรก สายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ขับตรงไปจนถึงบริเวณสะพานลอยเข้าสู่ศาลายา เลี้ยวขวาขึ้นสะพาน และขับตรงไปผ่านมหาวิทยาลัยมหิดล แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล ถึงสถานีตำรวจพุทธมณฑลแล้วให้เลี้ยวขวาขับรถตรงไปอีกประมาณ 24 กิโลเมตร ก็จะพบวัดลำพญา อยู่ทางซ้ายมือ ใช้เวลาประมาณ 45 นาที - เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางสายบางบัวทอง ขับตรงไปประมาณ 10 กิโลเมตร ให้สังเกตป้ายเข้าสู่อำเภอบางเลนด้านซ้ายมือ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร จะพบทางแยกซ้ายมืออีกครั้ง (ก่อนข้ามสะพานแม่น้ำท่าจีน) ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะพบวัดลำพญาอยู่ทางขวามือ ทางรถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทาง สายกรุงเทพฯ-นครปฐม โดยให้มาลงที่ตัวตลาด แล้วจากนั้นให้นั่งรถสองแถว สายนครปฐม-ลำพญา ให้ลงที่หน้าวัดลำพญา หรือจะขึ้นที่ตลาดตัวเมืองนครปฐม สายลำพญา-ทุ่งน้อย มาลงที่หน้าวัดลำพญาโดยตรง นอกจากนี้ยังมีรถตู้บริการจากสายใต้ใหม่ บริเวณร้านอาหารกุ้งหลวง รถออกทุกครึ่งชั่วโมง เริ่มเวลา05.00-18.00 น. ค่าโดยสาร 40 บาทตลอดสาย
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดลำพญา สภาวัฒนธรรมตำบลลำพญา โทร. (034) 391626, 391985, 392022 หรือโทรศัพท์ติดต่อ ประชาสัมพันธ์ตลาดน้ำลำพญา โทรศัพท์ 0-3439-1626 , 0-3430-2657 โทรศัพท์มือถือ 0-1659-7371 , 0-1763-4179 , 0-1721-4874 , 0-1572--1143

Monday, September 7, 2009

ตลาดน้ำรังสิต Rangsit Floating Market

Rangsit Floating Market

ตลาดาน้ำเมืองรังสิต ตั้งอยู่ริมคลองรังสิต คลอง 1 ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอธัญบุรี ห่างจากศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต เพียง 1 กิโลเมตร ที่ตลาดน้ำมีทั้งหมด 11 แพด้วยกัน และแต่ละแพได้ตั้งชื่อแพเป็นดอกบัวพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ ปุทมา บุณฑริก เป็นต้น มีทั้งหมด 11 แพด้วยกัน โดยแพที่ 1-2 จัดแสดงนิทรรศการการบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่อดีต ประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งคลองรังสิตประยูรศักดิ์ แพที่ 3 จัดจำหน่ายสินค้าโอทอป จากชุมชนในเขตเทศบาลเมืองรังสิต อาทิ น้ำมันมะพร้าว ขี้ผึ้งสมุนไพร แพที่ 4-10 จำหน่ายอาหารคาวหวานมากมาย โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวเรือเมืองรังสิตที่ขึ้นชื่อมานาน และแพที่ 10 เป็นการบริการนวดแผนไทย โดยกลุ่มแม่บ้านในเขตเทศบาลเมืองรังสิตที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี
ตลาดน้ำรังสิต เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00-17.00 น.
การเดินทาง รถนั่งรถประจำทางปรับอากาศ สาย 538 และ สาย 559, รถประจำทางสาย 188 หรือรถโดยสาร บขส. สายปราจีนบุรี-รังสิต-องครักษ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลเมืองรังสิต โทร. 0 2567 6000-6

ตลาดน้ำอยุธยา คลองสระบัว ayutthaya floating market

ตลาดน้ำอยุธยา คลองสระบัว ayutthaya floating market











ตลาด น้ำอยุธยา คลองสระบัว ตั้งอยู่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ (ทุ่งขวัญ) และอยู่ใจกลางสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ อนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดหน้าพระเมรุ และเพนียดคล้องช้าง

ตลาดน้ำอยุธยา คลองสระบัว เปิดให้บริการทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 17.00 น.

ตลาดน้ำอยุธยา คลองสระบัว ได้เปิดให้มีการแสดง "เวทีละครพื้นบ้าน" พร้อมการขับเสภาให้ได้ชมกัน วันละ 4 รอบ ดังต่อไปนี้

รอบที่ 1 : 12.00 น.
รอบที่ 2 : 14.00 น.
รอบที่ 3 : 15.00 น.
รอบที่ 4 : 17.00 น.

อันได้แก่เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ตอน พรานบุญจับนางมโนราห์, ไกรทองพิชิตชาละวัน, คัทธนกุมารชาดก, จันทโครพ ตอน เปิดผอบพบนางโมรา, สังข์ทอง ตอน รจนาเลือกคู่, ลิลิตพระลอ ตอน พระลอตามไก่ฟ้า, เสน่หากากี เป็นต้น


Ayutthaya floating market historical park located near Ayutthaya. Outside the island in the north (Tung Kwan) and in the heart of Parramatta is a monument King Naresuan the Great. Wat Phra Main crematory. Elephant corral and lasso. Ayutthaya floating market to open Saturday - Sunday and public holidays from 10.00 am - 17.00 pm Ayutthaya floating market opened the show. "Folk stage" with the Sing Espa 4 Round Each day the following. Round 1: 12.00 Round 2: 14.00 Round 3: 15.00 hrs Round 4: 17.00 Including matters. His bow-bank - at woodman Monrahs favors capture her Monrahs, Akr gold overcome tea per day, You bank Pediatrics Cup fable, Gian You Coast hospital when her open casket found chalcedony, golden trumpet at pretty select partners, Lilit Phra Buddha at Los million. as the pheasant, khaki, etc. Has a twist.



ตลาดน้ำอยุธยา คลองสระบัว

44 หมู่ที่ 5 ตำบล คลองสระบัว
อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 13000

สำนักงานกรุงเทพฯ
991 อาคารศูนย์การค้าสยามพารากอน
ชั้น 4 ห้อง 421-422
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร : 02 610 9458
โทรสาร : 02 610 9459
มือถือ : 081 875 0838



Ayutthaya Floating Market
44 Moo 5 Tambol Klong Sabua,Amphur Phranakorn Sri Ayutthaya, Ayutthaya 13000
Open every weekend and holiday at 10:00 - 17:00
Bangkok Office991 Siam Paragon Room 421-422 4th FloorPathumwan, Bangkok 10330

Tel : 662 610 9458
Fax : 662 610 9459

Mobile : 6681 875 0838


ตลาดน้ำ 4 ภาค Pattaya Floating Market

ตลาดน้ำ 4 ภาค Pattaya Floating Market

โครงการตลาดน้ำ ๔ ภาค (พัทยา)

ตลาด น้ำ ๔ ภาค พัทยา สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย แห่งใหม่กลางใจเมืองพัทยาและถือกำเนิดขึ้นด้วยเจตนารมณ์ของผู้บริหารที่จะ ให้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ที่จำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยที่เรียบง่าย เรียนรู้วิถีพอเพียงดั้งเดิมที่ผูกพันกับสายน้ำตั้งแต่อดีตสืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน รวมถึงการเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลใน ๔ ภาค ของประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และ ภาคใต้
ณ ที่นี่ ตลาดน้ำ ๔ ภาค (พัทยา) นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติจะได้เพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพอันงดงาม นั่งเรือพายชมทัศนียภาพ ๒ ฝั่งน้ำ สัมผัสกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การค้าขายทางน้ำ ตระการตากับร้านค้าเรือนไทยไม้สักทั้งหลังที่สวยงาม โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตลาดน้ำ จุดเด่นของเรือนไม้สักของแต่ละภาคที่สังเกตุง่ายๆ คือ หน้าจั่วที่มี ลักษณะแตกต่างกันอาทิ เรือนภาคเหนือ มีเอกลักษณ์พิเศษคือ กาแลไม้แกะสลัก อย่างงดงาม มีจำนวนรวม ๔๓ หลัง ซุ้มลีลาวดี และซุ้มกล้วยไม้เป็นจุดพักผ่อน รวมถึงลานสล้อที่เป็นลาน”กิจกรรมการแสดงของภาคเหนือ” เรือนภาคกลางจะตกแต่งยอดจั่วที่ เรียกว่า ปั้นลม มีจำนวนรวม ๓๑ หลัง มีลานการแสดง ๒ ลาน ได้แก่ ลานเถิดเทิง และลานบางระจัน, เรือนภาคอีสาน ยอดจั่วจะป็นรูปรัศมีสีพระอาทิตย์เรืองรองจะเรียกว่า ยอดธง ประกอบด้วยเรือน ๒๒ หลัง มีลานหมอลำเป็นลานการแสดง, เรือนภาคใต้ มียอดจั่วที่เรียกว่า ปีกผีเสื้อ ประกอบด้วยเรือนจำนวน ๑๕ หลัง มีซุ้มเฟื่องฟ้า ลานเบตง และลานโนราห์ เป็นลานกิจกรรมการแสดง
สำหรับ สินค้าทั้ง ๔ ภาคจะแตกต่างกันออกไปตามวิถีชีวิตแต่ละภาค โดยภาคเหนือจะเป็นสินค้างานไม้แกะสลัก เครื่องเงิน ผ้าพื้นเมืองลวดลายงดงามวิจิตร ผ้าไหม และร่มกระดาษ สำหรับสินค้าภาคกลาง ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์หวาย เครื่องประดับ กระเป๋าสาน ภาคอีสานโดดเด่นในกลุ่มสินค้าผ้าไหมหมัดหมี่ ผ้าไหมแพรวา เทียนหอม หมอนอิง และภาคใต้สินค้าเลื่องชื่อได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ผ้าบาติก เรือไม้จำลอง
ปณิธาน ความตั้งใจเพื่อให้ตลาดน้ำ ๔ ภาค (พัทยา) แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียงที่สัมผัสได้ รวมถึงเป็นจุดศูนย์รวมของวัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างครอบคลุมในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตความเป็นอยู่ การกิน การแสดง การค้าขาย รวมทั้งงานหัตถกรรมต่างๆ ที่ล้วนบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมา ความเจริญรุ่งเรือง และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สมควรได้รับการดูแล และคุณค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่ตราบนานเท่านานโครงการตลาดน้ำ ๔ ภาค (พัทยา) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกแห่งเดียวที่จะคง ไว้ซึ่งวิถีชีวิตคนไทยที่ยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเมืองพัทยา รวมถึงสร้างทัศนคติความประทับใจกับผู้มาเยือน





การเดินทาง



จากตัวเมืองพัทยา
เมืองพัทยาได้มีการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวและชาวเมืองพัทยาที่ต้องการจะมาเที่ยวที่ตลาดน้ำ4 ภาคพัทยา ดยการเพิ่มรถโดยสารประจำทางหรือ บีชบัส ซึ่งปกติจะวิ่งรอบเมืองพัทยาและชายหาดพัทยา ได้มีการขยายเส้นทางมาถึงตลาดน้ำ 4 ภาคพัทยา
เส้นทาง
ตลาด น้ำ 4 ภาคพัทยา - ถนนชัยพฤกษ์ - หาดจอมเทียน - ถนนพัทยา - วัดไชยมงคล - พัทยาสาย 2 - เซ็นทรัลพัทยาบีช - วงเวียนปลาโลมา - พัทยาเหนือ - ที่ทำการเมืองพัทยา - ถนนสุขุมวิท - ตลาดน้ำ 4 ภาคพัทยา
20 บาทตลอดสาย
เวลารถออกจากตลาดน้ำ 4 ภาคพัทยา
13.00, 14.30, 16.30, 18.30


การเดินทางจากกรุงเทพมหานคร - พัทยา
ถนนมอเตอร์เวย์
เส้นทางมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ ชลบุรี (สายใหม่) ต่อเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอก มีทางขึ้นหลายจุด เช่น ถนนรามอินทรา ก่อนถึงแฟชั่นไอร์แลนด์ สุด ถนนพระราม 9 ตัดกับ ถนนศรีนครินทร์ หรือจากสายบางนา ตราด เมื่อผ่านแยก ถ.ศรีนครินทร์ มาแล้วพอสมควร จะมีทางแยกเข้าถนนวงแหวนรอบนอก แล้วมาเข้ามอเตอร์เวย์ได้เช่นกัน เมื่อเข้ามอเตอร์เวย์ต้องเสียค่าผ่านทางที่ด่านชั่วคราวลาดกระบัง 30 บาท และด่านชั่วคราวพานทองอีก 30 บาท (สำหรับรถยนต์สี่ล้อ) ระยะทางทั้งหมดประมาณ 68 กิโลเมตร เมื่อออกจากมอเตอร์เวย์แล้วให้ใช้ ทางหลวงหมายเลข 7 จนไปพบกับทางหลวงหมายเลข 36 ที่แยกบ้านกระทิงลายก่อนถึงพัทยา
ถนนบางนา ตราด
เส้นทางสายบางนา ตราด ( ทางหลวงหมายเลข 34) จากบางนาเข้าสู่ย่านบางพลี ผ่านแม่น้ำบางประกง จนเข้าสู่ตัวจังหวัดชลบุรีระยะทางประมาณ 81 กิโลเมตร ถ้าจะไม่เข้าตัวเมือง ก็มีเส้นทางบายพาสเลี่ยงเมืองแล้วมาพบกับทางหลวงหมายเลข 3 หรือถนนสุขุมวิทไปตามเส้นทางนี้ จะผ่านบางแสน บางพระ ศรีราชา แหลมฉบัง และก็จะเข้าสู่เขตเมืองพัทยา
มีรถเมล์ธรรมดาและปรับอากาศให้บริการทุกวันที่สถานีขนส่งเอกมัย (ถนนสุขุมวิท), สถานีขนส่งหมอชิต (ถนนกำแพงเพชร) และสถานีขนส่งสายใต้ (ถนนบรมราชชนนี)
สามารถติดต่อสอบถามเวลาเดินทางและค่าโดยสารได้
สถานีขนส่งเอกมัย : 0 2391 2504, 0 2391 8097
สถานีขนส่งหมอชิต : 0 2936 2852 to 66, 0 2936 3666
สถานีขนส่งสายใต้:0 2894 6122
นอกจากนี้ยังมีรถเมล์โดยสารปรับอากาศให้บริการโดยตรงจากสนามบินสุวรรณภูมิ ถึงพัทยา โดยมีให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 6.30 น. ถึง 19.00 น. สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการขนส่งสาธารณะ ณ สนามบินสุวรรณภมิ โทร.0 2134 4099, 0 2132 9171
ทั้งนี้มีรถเมล์ให้บริการส่งถึงพัทยาในโรงแรมต่างๆของกรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เคาน์เตอร์บริษัททัวร์ต่างๆ
เดินทางโดยรถตู้
สามารถขึ้นรถตู้ได้ที่อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งใต้ทางด่วน จะมีร้านจำหน่ายตั๋ว ค่าโดยสารเที่ยวละ 170 บาท

โดยรถไฟ
การเดินทางโดยรถไฟสามารถเดินทางได้โดยรถไฟจะเริ่มเดินทางออกจากสถานีรถไฟหัว ลำโพง เวลา 6.50 น. ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3.30 ชั่วโมง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โทร.1690, 0 2223 7010, 0 2220 4444, 0 2220 4334, 0 2621 8701







ตลาดน้ำดำเนินสะดวก DAMNOEN SADUAK FLOATING MARKET

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ตลาดน้ำคลองลัดพลี มีมานานกว่า 100 ปีเศษมาแล้ว ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอไปทางทิศตะวันออก 400 เมตรตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตั้งอยู่ที่คลองดำเนินสะดวกเหมาะที่จะไปเที่ยว ชมในเวลาเช้า เนื่องจากแดดไม่ร้อนและมีเรือขายสินค้าเป็นจำนวนมาก คลองดำเนินสะดวกเป็นคลองที่เชื่อม แม่น้ำท่าจีน กับแม่น้ำแม่กลอง เริ่มตั้งแต่ประตูน้ำบางยาง แม่น้ำท่าจีน อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถึงประตูน้ำบางนกแขวก แม่น้ำแม่กลอง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามทำให้ประชาชนในจังหวัด ราชบุรี สมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงครามติดต่อถึงกันโดยสะดวกขึ้น ตลอดสองฝั่งคลองดำเนินสะดวก ที่มีความยาว 32 กิโลเมตรนี้ มีคลองซอย คลองเล็ก คลองน้อย แยกออกไปประมาณ 200 คลองเช่น คลอง สี่หมื่น คลองทองหลาง คลองโพธิ์หัก คลองขุน-พิทักษ์ คลองศรีราษฎร์ คลองลัดราชบุรี คลองฮกเกี้ยน ฯลฯ




ตลาดน้ำดำเนินสะดวก หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามตลาดน้ำคลองต้นเข็ม เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯราว 80 กิโลเมตร ในราวปี พ.ศ. 2409 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองดำเนินสะดวกระยะทางกว่า 32 กิโลเมตร เชื่อมแม่น้ำแม่กลองที่บางนกแขวกกับแม่น้ำท่าจีนที่ประตูน้ำบางยาง และมีคลองซอยเล็ก ๆ มากมาย ทำให้ชาวบ้านในราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร สามารถติดต่อกันทางน้ำได้สะดวก
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อม บรรทุกสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลกเปลี่ยนสินค้าในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ตลาดน้ำดำเนินสะดวกเริ่มค้าขายตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึงช่วงประมาณ 12.00 น. ส่วนตลาดน้ำวัดปราสาทสิทธิ์ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตเดิม ๆ อยู่มากจะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ และจะวายตั้งแต่ก่อน 08.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอำเภอดำเนินสะดวก โทร. 03224-1023, 03234-6161 ล่องคลองชมตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก มีบริการเรือเช่านำเที่ยว เรือพาย ราคา 300 บาท เรือหางยาว ราคา 600 บาท นั่งได้ประมาณ 8 คน พาไปดูสวน การทำน้ำตาลสด ใช้เวลาประมาณ 45 นาที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ท่าเรือยุวันดา โทร. 03224-1392, 086-668-9471, 089-161-0909
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯสามารถเดินทางไปตลาดน้ำดำเนินสะดวกได้ 2 เส้นทาง คือ1. เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านบางแค สวนสามพราน นครชัยศรี นครปฐม เลยกิโลเมตรที่ 83 ไปเล็กน้อย จะพบแยกบางแพ เลี้ยวซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 325 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ข้ามสะพานธนะรัชต์เลยไป 200 เมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร
2. เดินทางไปตามสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ระยะทาง 63 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 325 ผ่านตัวเมืองสมุทรสงคราม แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 325 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ทางเข้าตลาดน้ำอยู่ก่อนถึงสะพานธนะรัชต์ 200 เมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี เที่ยวแรกออกตั้งแต่เวลา 05.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ลงรถบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ จากนั้นสามารถโดยสารรถสองแถวบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ เข้าไปถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นระยะทางอีก 1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายใต้ (ห้องจำหน่ายตั๋วดำเนินสะดวก) โทร. 02-435-5031 (ห้องจำหน่ายตั๋วราชบุรี) โทร. 02-435-5036
นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปกับรถโดยสารสายอื่นได้ เช่น สายกรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี (สายเก่า) แล้วลงตรงสี่แยกบางแพ ต่อจากนั้นต่อรถสองแถวซึ่งวิ่งระหว่างทางแยกบางแพไปดำเนินสะดวก มีรถออกทุก 10 นาที

ตลาดบางน้ำผึ้ง

ตลาดบางน้ำผึ้ง

ตําบลบางน้ำผึ้ง อําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่สีเขียวที่มีรูปร่างคล้ายกระเพาะหมู ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลอดสารพิษท่ามกลางความเจริญเติบโตของเมือง มีเนื้อที่รวม 11,819 ไร่ โอบล้อมด้วยแม่ น้ำเจ้าพระยา และที่สําคัญคุ้งกระเพาะหมูแห่งนี้ได้อนุรักษ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวตั้งแต่ ปี 2520 พื้นป่าแห่งนี้จึงเป็นแหล่งผลิตอากาศ บริสุทธิ์ให้กับประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร มีพันธุ์พืชนานาชนิดขึ้นอย่างหนาแน่น มีพันธุ์นก รวมทั้งแมลง นานาชนิดมาอาศัยอยู่จํานวนมาก องค์การบริหารส่วนตําบลบางน้ำผึ้งและประชาชนบางน้ำผึ้งได้ร่วมใจปลุกวิถี ชีวิตดั้งเดิมขึ้นมาใหม่ พร้อมใจสร้างตลาดขึ้นมาใหม่ นับเป็นตลาดใกล้กรุงที่มีสินค้าหลากหลายทั้งของกินของใช้ ของฝากนานาชนิด จัดเป็นซุ้มให้มีทางเดินยาวกว่า 2 กิโลเมตร
นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมสินค้า OTOP ที่สร้างสรรค์จากคนในชุมชนบางน้ำผึ้งและตําบลใกล้เคียง
ตลาดบางน้ำผึ้งจะมีเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น.

บริการต่าง ๆ
- เรือพาย ลําละ 20 บาท / นวดแผนโบราณ / จักรยานให้เช่า 30 บาท

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว ใช้ทางด่วนมาลงที่ถนนสุขสวัสดิ์ เมื่อลงทางด่วนขับมาเรื่อย ๆ จะเห็นสามแยก พระประแดง – สุขสวัสดิ์ เลี้ยวซ้ายตรง สถานีบริการน้ำมัน พอถึงตลาดพระประแดงให้เลี้ยวซ้ายผ่านวัดทรงธรรมวรวิหารประมาณ 5 กิโลเมตร จะพบป้ายบอกทางเข้าตลาดให้เลี้ยวขวาเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงสถานีอนามัยบางน้ำผึ้งซึ่งจะเป็นที่จอดรถ
รถโดยสารประจําทาง มีรถโดยสารประจําทางสาย ปอ.138, สาย 82, ปอ.140 สาย 82 , สาย 506 ไปลงตลาดพระประแดงแล้วต่อรถ ประจําทางสายพระประแดง-บางกอบัว ก็จะผ่านตลาดบางน้ำผึ้ง

ตลาดน้ำอัมพวา Amphawa Floating Market



ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุกวันนี้
ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น"


สิ่งที่น่าสนใจ
ตลาดน้ำยามเย็น
จะมีทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 15.00 -22.00 น.วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น.
ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

ล่องเรือชมหิ่งห้อย
นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะนั่งเรือชมหิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน หรือล่องเรือท่องเที่ยวตามลำน้ำแม่กลอง
ก็สามารถติดต่อเรือได้ ติดต่อ โทร.089-4154523
การเดินทาง
  • ทางรถยนต์
    จากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ทางเดียวกับไปอำเภอดำเนินสะดวกและอุทยาน ร.2 ประมาณ 6 กม ก่อนถึงสามแยกไฟแดง มีทางแยกทางซ้ายเข้า อ.อัมพวา ไปอีกประมาณ 800 เมตร. ทางแยกซ้ายมือ เข้าตลาดอัมพวา จอดรถบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออัมพวา


  • รถประจำทาง
    จากสถานีขนส่งสายใต้
    รถสาย 996 กรุงเทพฯ-ดำเนินฯ เป็นรถปรับอากาศ ผ่านจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา
    สาย 976 กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย 333 แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ถึงตลาดอัมพวา




Sunday, September 6, 2009

ตลาดน้ำวัดสะพาน (ภาคต่อ) Wat Saphan Floating Market (Continue)

วันนี้เราจะพาไปเที่ยวตลาดน้ำวัดสะพานกัน เชิญตามผมมาครับ
ทางเข้าอยู่ตรง ถนนปากน้ำกระโจมทอง ตรงเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถ้ามาจากปากซอยพาณิชย์ธน (จรัญสนิทวงศ์ 13) หากขับรถมาเอง ให้วิ่งเข้ามาเรื่อยๆ จนถึงเ้ส้นตัดถนนราชพฤกษ์ แล้วให้เลี้ยวขวา ขับไปประมาณ 1 กิโลเมตร ทางเข้าจะอยู่ซ้ายมือ



เมื่อมาถึงจะเห็นอุโบสถหลังใหม่



อุโบสถเก่า





เมื่อมาถึงเราก็เริ่มออกสำรวจ ของกินกันก่อนเลย



บริเวณตลาดริมน้ำ






ก๋วยเตี๋ยวเรือ



หอยทอด



น่ากินไหมครับ










สะพานข้ามคลอง





มีเรือไว้คอยให้บริการ







บ้านเรือนฝั่งตรงข้ามกับวัดครับ




พระพุทธรูปเก่าแก่อายุหลายร้อยปี







ตู้เซียมซีแบบ ไฮเทค ไม่ต้องเขย่าติ้วกันแล้ว หยอดเหรียญเลย มีเสียงด้วย

"จัตตาโร ธรรมา วัททันติ อายุ วัณโณ สุขัึง พะลัง"

ท่อนนี้จำได้ขึ้นใจเลย เพราะว่าใช้หากินช่วงที่ไปบวชมา 55555



ป๊าป ได้เบอร์ 7 ใบนี้ว่าดีเอย




จบแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่